Powered By Blogger

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชีวประวัติของคีตกวีไทยทางดนตรีไทย

พระเจนดุริยางค์

 



พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 -25 ธันวาคม พ.ศ. 2511) บุคคลสำคัญในวงการดนตรีของประเทศไทย ผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการบันทึกเพลงไทยเดิมด้วยโน้ตเพลงสากล และเป็นผู้วางรากฐานวงดุริยางค์ทหารอากาศและวงดุริยางค์ตำรวจ
ประวัติ
พระเจนดุริยางค์เกิดที่ตำบลบ้านทวาย จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายยาคอบ ไฟท์ (Jakob Feit) ชาวเยอรมันกับนางทองอยู่ ชาวไทยเชื้อสายมอญ มีภรรยาสามคนคือนางเบอร์ธา นางบัวคำและนางลิ้ม มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 10 คน พระเจนฯ เริ่มเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก เมื่อ พ.ศ. 2433 และจบการศึกษาหลักสูตรภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2433 พระเจนฯ เริ่มเรียนดนตรีกับบิดาเมื่ออายุ 10 ขวบ ต่อจากนั้นได้ศึกษาดนตรีด้วยตนเองมาโดยตลอดจนมีความรู้และความชำนาญในการดนตรีอย่างแตกฉาน
พระเจนดุริยางค์สมัครเข้าเป็นครูโรงเรียนอัสสัมชัญเมื่อ พ.ศ. 2444 แต่ต่อมาอีก 2 ปีจึงเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง ในปี พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้โอนมาเป็นครูในกรมมหรสพซึ่งต่อได้โอนมาอยู่กรมศิลปากร ในตำแหน่งครูวงเครื่องสายฝรั่งหลวง และทำหน้าที่ผู้สอนวิชาดนตรีสากลให้สามัคยาจารยสมาคมและผลักดันให้วิชาขับร้อง (ด้วยโน้ต) เป็นวิชาเลือกในการสอบเลื่อนวิทยฐานะทั้งชุดของครูประถมและครูมัธยม
พระเจนดุริยางค์ได้โอนสังกัดไปสอนในวงดุริยางค์ทหารอากาศเมื่อ พ.ศ. 2483 เมื่ออายุได้ 57 ปี จนเกษียณอายุราชการ หลังเกษียณแล้วได้รับเชิญเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยศิลปากร และในปี พ.ศ. 2493 กรมตำรวจได้ขอยืมตัวให้ไปก่อตั้งวงดุริยางค์สากลกรมตำรวจและทำงานให้กรมตำรวจจนถึงแก่กรรมเมื่อายุได้ 85 ปี 5 เดือน
ผลงาน
ผลงานที่สำคัญของท่านนอกจากจะเป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทยแล้ว ยังเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง พระเจ้าช้างเผือก ซึ่งอำนวยการสร้างโดย นายปรีดี พนมยงค์อีกด้วย ด้านเพลงไทยเดิม พระเจนดุริยางค์เป็นผู้ให้ทำนองเพลงพม่ารำขวาน เพลงธรณีกรรแสง เพลงพม่าประเทศ นอกจากนี้ยังได้เรียบเรียงตำราวิชาดนตรีสากลเป็นภาษาไทย เช่นทฤษฎีการดนตรีตอนต้น การประสานเสียงเบื้องต้นรวมทั้งตำราประสานเสียง 3 เล่มจบ
พระเจนดุริยางค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก, ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย, ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ, และเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาแก่กรรมเมื่ออายุได้ 85 ปี 5 เดือนนายเอื้อ สุนทรสนาน



นายเอื้อ สุนทรสนาน หรือเรียกกันว่า "ครูเอื้อ" (21 มกราคม พ.ศ. 2453 - 1 เมษายน พ.ศ. 2524) เป็นทั้งนักร้อง นักประพันธ์เพลง อาทิ เพลงถวายพระพร เพลงวันลอยกระทง เพลงปลุกใจ เพลงสดุดี เพลงประจำจังหวัด และเป็นหัวหน้าวงดนตรีสุนทราภรณ์ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย
เอื้อ สุนทรสนาน ได้แต่งเพลงร่วมกับแก้ว อัจฉริยกุล และท่านอื่นๆ ไว้มากมายจนนับไม่ถ้วน ซึ่งคาดว่ามีมากกว่า 2,000 เพลง มีเพลงที่เป็นที่รู้จักกัน เช่น เพลงรำวงลอยกระทง เพลงรำวงเริงสงกรานต์ เพลงนางฟ้าจำแลง เป็นต้น นอกจากนั้นยังถือได้ว่าท่านเป็นหนึ่งในผู้ที่บุกเบิกเพลงไทยสากล และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ในปี พ.ศ. 2518
เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรม ได้เสนอ เอื้อ สุนทรสนาน ต่อองค์การยูเนสโกในวาระครบรอบ 100 ปีชาตกาลเพื่อให้เป็นบุคคลดีเด่นของโลก ซึ่งต่อมาในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ทางองค์การยูเนสโกก็ได้ยกย่องครูเอื้อเป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล
เอื้อ สุนทรสนาน เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2453 ณ ตำบลโรงหีบ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บิดาชื่อ นายดี สุนทรสนาน มารดาชื่อ นางแส สุนทรสนาน มีนามเดิมว่า "ละออ" ต่อมา บิดาให้นามใหม่เป็น "บุญเอื้อ" และได้มาเปลี่ยนอีกครั้งในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็น "เอื้อ" ครูเอื้อมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน ได้แก่
หมื่นไพเราะพจมาน (อาบ สุนทรสนาน) ต่อมาได้รับพระราชนามสกุล สุนทรสนาน จาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
นางปาน แสงอนันต์
นายเอื้อ สุนทรสนาน
หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปี พ.ศ. 2465  พระเจนดุริยางค์เห็นว่า ครูเอื้อมีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี จึงให้ครูเอื้อหัดไวโอลิน และให้หัดเป่าแซ็กโซโฟนอีกอย่างหนึ่งด้วย ทั้งยังให้เปลี่ยนมาเรียนวิชาดนตรีเต็มวัน ส่วนการเรียนวิชาสามัญนั้นให้งดเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นต้นไป
2 ปีต่อมา ความสามารถของเอื้อก็ประจักษ์ชัดแด่คณาจารย์ทั้งหลาย จึงได้ให้เข้ารับราชการประจำ กองเครื่องสายฝรั่งหลวงในกรมมหรสพ กระทรวงวัง รับพระราชทานยศเป็น "เด็กชา" เงินเดือน 5 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2467 กระทั่งมีความชำนาญมากขึ้นจึงได้เลื่อนขึ้นไปเล่นวงใหญ่ในปี พ.ศ. 2469 เงินเดือนเพิ่มเป็น 20 บาท และ 2 ปีต่อมาก็ได้รับพระราชทานยศ "พันเด็กชาตรี" และ "พันเด็กชาโท" ในปีถัดไป
ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ได้โอนไปรับราชการสังกัดกรมศิลปากร ในสังกัดกองมหรสพ และในปี พ.ศ. 2478 หลวงวิจิตรวาทการเป็นอธิบดีกรมศิลปากร เอื้อซึ่งพิสูจน์ฝีมือดนตรีจนประจักษ์ชัด เงินเดือนจึงขึ้นเป็น 40 บาท และ 50 บาทใน 2 ปีต่อมา
นอกจากนับราชการในกรมศิลปากรแล้ว เอื้อยังมีโอกาสได้ร่วมงานกับคณะละครร้อง ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น เช่น คณะของแม่เลื่อน ไวณุนาวิน ได้แต่งเพลง "ยอดตองต้องลม" ขึ้น นับเป็นเพลงในชีวิตการประพันธ์เพลง เพลงยอดตองต้องลมนี้ เอื้อ สุนทรสนาน ให้ทำนอง เฉลิม บุณยเกียรติ ให้คำร้อง นอกจากนี้ ในปีเดียวกันนั้นเอง เอื้อได้ขับร้องเพลง นาฏนารี คู่กับนางสาววาสนา ละออ และถือว่าเป็นเพลงแรกสุดที่ได้ขับร้องบันทึกเสียงด้วย 
สมศักดิ์ เทพานนท์




สมศักดิ์ เทพานนท์ (5 มีนาคม พ.ศ. 2467 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2537) นักดนตรี และนักประพันธ์คำร้องให้กับวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และสุนทราภรณ์
สมศักดิ์ เทพานนท์ มีชื่อจริงว่า สมศักดิ์ ทัพทัต เป็นบุตรของนายทองย้อย กับนางระเบียบ ทัพทัต ส่วนนามสกุล เทพานนท์ เป็นนามสกุลของคุณยาย และใช้ในวงการเพลงเท่านั้น สมศักดิ์เกิดที่ตำบลสำราญราษฎร์ ศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทัศน์และโรงเรียนวัดสระเกศ และเข้าศึกษาต่อที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เรียนไม่จบเพราะบิดาเสียชีวิต และไม่มีผู้ส่งเสีย จึงไปสมัครรับราชการที่กองดุริยางค์ทหารเรือ รุ่นเดียวกับสมยศ ทัศนพันธ์ เสน่ห์ โกมารชุน และสุรสิทธิ์ สัตย์วงศ์ ต่อมาย้ายไปอยู่คณะละครนิยมไทย วงดนตรีเทศบาลนครกรุงเทพ วงดนตรีดุริยะโยธินของกองทัพบกไทย
ในปี พ.ศ. 2496 ครูเวส สุนทรจามร ชวนให้มาอยู่วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ในตำแหน่งมือกลอง ต่อมาได้เป็นนักร้อง และได้แต่งเพลงร่วมกับครูเอื้อ สุนทรสนาน โดยเป็นผู้ประพันธ์คำร้อง
สมศักดิ์ เทพานนท์ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน เมื่อปี พ.ศ. 2508 จากเพลง "รักเธอเสมอ" ขับร้องโดยรวงทอง ทองลั่นธม
สมศักดิ์ เกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. 2528 หลังเกษียณได้แต่งเพลงทั้งคำร้องและทำนองอีกหลายเพลง และได้รับเชิญให้ร่วมร้องเพลงกับวงดนตรี สังคีตสัมพันธ์ ของวินัย จุลละบุษปะเป็นครั้งคราว
สมศักดิ์ เทพานนท์ ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ในระยะหลังเกิดอาการแทรกซ้อน จนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ขณะอายุได้ 70 ปี


ขอขอบคุณ    Wkipedia.com
ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลและรูปภาพ


>>>>>>>ดาวโหลดแบบทดสอบที่นี่ครับ<<<<<<<

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

วงดนตรีไทย

 วงดนตรีไทย

โดยทั่วไปวงดนตรีไทยที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วทุกภาคของประเทศ มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทได้แก่
1. วงปี่พาทย์
2.
วงเครื่องสาย
3.
วงมโหรี



วงปี่พาทย์ เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องประเภท "เครื่องตี" เป็นเครื่องดนตรีสำคัญหรือเป็นตัวเอก ได้แก่ ระนาด กับ ฆ้องวง และมีเครื่องเป่าคือ ปี่ เป็นตัวสำคัญรองลงมา นอกจากนั้นมีเครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ เช่น กลอง,ฉิ่ง,ฉาบ
วงเครื่องสาย เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องประเภท "เครื่องสาย" เป็นหลักอันได้แก่ ซอด้วง กับซออู้ และมีเครื่องเป่า คือ "ขลุ่ย" สำคัญรองลงมา นอกจากนั้นมีเครื่องประกอบจังหวะคือ ฉิ่ง,ฉาบ,กลอง เครื่องดนตรีที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในวงเครื่องสายคือ "จะเข้" วงมโหรี เป็นวงดนตรีที่บรรเลงโดยใช้เครื่องดนตรีจากวง"ปี่พาทย์" กับวง "เครื่องสาย" มาผสมกัน ดังนั้น วงมโหรีจึงประกอบด้วยเครื่องดนตรี คือ ระนาด,ฆ้องวง,ซอสามสาย,ซอด้วง,ซออู้,ปี่,ขลุ่ย,จะเข้, และเครื่องประกอบจังหวะทั้งหลายเท่าที่เห็นสมควร
ข้อสังเกต ปี่ไม่มีในวงมโหรี

นั้นคือการแบ่งลักษณะของวงดนตรีไทยออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ต่อไปเราจะมาดูลึกในรายละเอียดของวงแต่ละประเภทกันว่าเป็นอย่างไร
ประเภทของวงปี่พาทย์ยังแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้อีก ตามแต่จุดประสงค์ ของการใช้งานดังนี้
วงปี่พาทย์ชาตรี
เป็นวงปี่พาทย์โบราณที่มีเครื่องดนตรีน้อยที่สุด เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงหนังตะลุง และมโนราห์ เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีประเภทนี้ได้แก่ ปี่นอก ฆ้องคู่ โทน 1คู่กลองชาตรี 1 คู่กรับ ฉิ่ง





2. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง

วงปี่พาทย์สามัญสำหรับประกอบการแสดง และ ประโคมในงานทั่วไป มี 3 ขนาด ดังนี้



2.1 วงปี่พาทย์เครื่องห้า ใช้เครื่องดนตรีและผู้บรรเลงคือ ระนาดเอก 1 คน ฆ้องวงใหญ่ 1 คน ปี่ใน 1 คน ฉิ่ง 1 คน ตะโพนหรือกลองทัด 1 คน


2.2 วงปี่พาทย์เครื่องคู่  ระนาดเอก 1 คน ระนาดทุ้ม 1คน ฆ้องวงใหญ่ 1 คน ฆ้องวงเล็ก 1 คน ปี่ใน 1 คน ฆ้องโหม่ง ฉิ่ง 1 คน ฉาบ 1 คน ตะโพนหรือกลองทัด 1 คน


2.3 วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
 ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงคือ ระนาดเอก 1 คน ระนาดทุ้ม 1คน ระนาดเอกเหล็ก 1 คน ระนาดทุ้มเหล็ก 1 คน ฆ้องวงใหญ่ 1 คน ฆ้องวงเล็ก 1 คน ปี่ใน 1 คน ปี่นอก 1 คน ฆ้องโหม่ง ฉิ่ง 1 คน ฉาบ 1 คน ตะโพนหรือกลองทัด 1 คน
3. วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ชนิดนี้ใช้เครื่องดนตรี ผู้บรรเลง ,และขนาดของวง เหมือนกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งเกือบทุกอย่าง ส่วนที่แตกต่างก็คือ
-
ใช้ ขลุ่ยเพียงออ แทนปี่ใน
-
เพิ่ม ซออู้
-
ใช้ไม้นวมตีระนาดเอกไม้ระนาดเอกเหล็ก








4. วงปี่พาทย์มอญ
เครื่องดนตรีของวงปี่พาทย์มอญนี้ ปิดทองหรือทาด้วยสีทองเกือบทุกชิ้น วงปี่พาทย์มอญเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไทย กล่าวคือ มีเครื่องห้า ,เครื่องคู่, เครื่องใหญ่ เช่นกัน มีข้อแตกต่างกันดังนี้
-
ใช้ปี่มอญ แทนปี่ใน 
-
ใช้ฆ้องมอญ แทน ฆ้องวง
-
ใช้ตะโพนมอญ แทน ตะโพนไทย
-
เพิ่มเปิงมางคอกเข้า
วงปี่พาทย์มอญนิยมบรรเลงในงานศพ เพราะมีทำนองฟังแล้วโหยหวนชวนให้เกิดความเศร้าใจ





5. วงปี่พาทย์นางหงส์
ใช้เครื่องดนตรีเหมือนกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่างนอกจาก
-
ใช้ ปี่ชวา แทน ปี่นอก
-
ใช้กลองมะลายู 1 คู่ แทน กลองตะโพนและกลองทัด

วงปี่พาทย์นางหงส์นี้ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น









เครื่องสาย
เป็นวงดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีที่มีสายประเภทเครื่องดีดและเครื่องสีเป็นหลัก และมีเครื่องเป่า และเครื่องตีร่วมบรรเลงอยู่ด้วย ส่วนใหญ่ใช้บรรเลงในงานมงคลไม่นิยมใช้บรรเลงในงานอวมงคล วงเครื่องสายมี 3 ประเภท
1. วงเครื่องสาย มี 2  ขนาด
วงเครื่องสายวงเล็ก เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย



1.ซอด้วง, 2 ซออู้, 3.จะเข้, 4.ขลุ่ยเพียงออ, 5.โทน - รำมะนา, 6.ฉิ่ง

วงเครื่องสายเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
1.ซอด้วง 2 คัน , 2.ซออู้ 2 คัน  , 3.จะเข้ 2 ตัว , 4.ขลุ่ยเพียงออ , 5. ขลุ่ยหลิบ , 6.โทน – รำมะนา ,
 7.ฉิ่ง


2. วงเครื่องสายปี่ชวา
มีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงเหมือนกับวงเครื่องสายทุกอย่างแต่ใช้ปี่ชวาแทนขลุ่ยเพียง และใช้กลองแขกแทนโทน-รำมะนา
1.ซอด้วง, 2.ซออู้, 3.จะเข้, 4 .ปี่ชวา ,  5. ขลุ่ยหลีบ, 6.กลองแขก, 7.ฉิ่ง


3. วงเครื่องสายผสม
มีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงเหมือนกับวงเครื่องสายทุกอย่าง แต่เพิ่มเครื่องดนตรีประเภททำทำนองเข้ามาผสม 1 ชิ้น เช่น ขิม เรียกว่าเครื่องสายผสมขิม
 

วงมโหรี

     วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีผสมทั้งดีด สี ตี เป่า เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเพื่อขับกล่อม ไม่นิยมบรรเลงในการแสดงใด ๆ
วงมโหรีมี 5 แบบ คือ

1.วงมโหรีเครื่องสี่ เป็นวงมโหรีที่รวมเอาการบรรเลงพิณและการขับไม้ ซึ่งมีมาแต่โบราณเข้าด้วยกัน เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี 4 ชิ้น คือ
1.1  โทน เป็นเครื่องควบคุมจังหวะ

1.2 ซอสามสาย
1.3 กระจับปี่
1.4 กรับพวงวงมโหรีเครื่องสี่นี้เดิมผู้ชายเป็นผู้บรรเลง ต่อมาเมื่อนิยมฟังมโหรีกันแพร่หลาย ผู้มีบรรดาศักดิ์จึงนิยมให้ผู้หญิงฝึกหัดบรรเลงบ้างและได้รับความนิยมสืบต่อมา




2. วงมโหรีเครื่องหก คือ วงมโหรีเครื่องสี่ซึ่งเพิ่มเครื่องดนตรีอีก 2 อย่าง คือ รำมะนา สำหรับตีกำกับจังหวะคู่กับทับ และขลุ่ยเพียงออสำหรับเป่าดำเนินทำนอง  และเปลี่ยนใช้ฉิ่งแทนกรับพวง  นับเป็นการบรรเลงที่มีเครื่องดนตรีครบทั้งดีด สี ตี และเป่า
เกิดขึ้นในตอนปลายสมัยอยุธยา





3. วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก คือ วงมโหรีที่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีและเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ครั้งแรกเพิ่มระนาดเอกและฆ้องวง (ภายหลังเรียกว่า ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี)  ต่อมาจึงได้เพิ่มซอด้วงและซออู้ ส่วนกระจับปี่นั้นเปลี่ยนเป็นใช้จะเข้แทน เนื่องจากเวลาบรรเลงจะเข้วางราบไปกับพื้น ซึ่งต่างกับกระจับปี่ที่ต้องตั้งดีด ทั้งนมที่ใช้รองรับสายและบังคับเสียงก็เรียงลำดับมีระยะเหมาะสมกว่ากระจับปี่ เวลาบรรเลงจึงทำให้ใช้นิ้วดีดได้สะดวกและแคล่วคล่องกว่า นอกจากนี้จะเข้ยังสามารถทำเสียงได้ดังและทำเสียงได้มากกว่ากระจับปี่
วงมโหรีเครื่องเดี่ยวประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
1.ซอสามสาย 1 คัน   2. ซอด้วง 1 คัน  3.ซออู้ 1 คัน  4.จะเข้ 1 ตัว  5.ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา  6.ระนาดเอก 1 ราง
7.ฆ้องวง    8.โทน 1 ลูก รำมะนา 1 ลูก    9.ฉิ่ง 1 คู่


4. วงมโหรีเครื่องคู่ คือ วงมโหรีเครื่องเดี่ยวที่ได้เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กเข้าในวง ทั้งนี้เนื่องด้วยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กรวมเรียกว่า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงมโหรีจึงเพิ่มเครื่องดนตรีดังกล่าวบ้าง นอกจากนั้นยังเพิ่มซอด้วงและซออู้ขึ้นเป็นอย่างละ 2 คัน เพิ่มจะเข้เป็น 2 ตัวขลุ่ยนั้นเดิมมีแต่ขลุ่ยเพียงออ จึงเพิ่มขลุ่ยหลีบอีก 1 เลา ส่วนซอสามสายก็เพิ่มซอสามสายหลีบอีก 1 คัน และเพิ่มฉาบเล็กอีก1 คู่ด้วย
วงมโหรีเครื่องคู่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
1 ซอสามสาย 1 คัน  
2 ซอสามสายหลีบ 1 คัน
3 ซอด้วง 2 คัน
4 ซออู้ 2 คัน
5 จะเข้ 2 ตัว
6 ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา
7 ขลุ่ยหลีบ 1 เลา
8 ระนาดเอก 1 ราง
9  ระนาดทุ้ม 1 ราง
10 ฆ้องวง 1 วง
11 ฆ้องวงเล็ก 1 วง
12 โทน 1 ลูก รำมะนา 1 ลูก
13 ฉิ่ง 1 คู่
14 ฉาบเล็ก 1 คู่






ขอขอบคุณเว็บไซด์แหล่งข้อมูลและรูปภาพประกอบ